กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) อยู่ระหว่างการดำเนินการยื่นเอกสารรับรองเกษตรเชิงนิเวศพื้นที่ ทะเลน้อย พัทลุง เป็น มรดกทางการเกษตรโลก ทะเลน้อย พัทลุง – (9 พ.ค. 2565) นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์พร้อมเป็นอีกหน่วยงานหลักในการส่งเสริม Soft Power ตามนโยบาย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ต้องการส่งเสริมให้อาหารไทย แหล่งท่องเที่ยว ศิลปวัฒนธรรม วิถีชีวิต เป็นที่เลื่องลือและยอมรับทั่วโลก
ซึ่งนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ
ได้สั่งการให้ขับเคลื่อนเรื่องการส่งเสริมมรดกวัฒนธรรมด้านการเกษตรที่ประเทศไทยมีความโดดเด่น โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการยื่นเอกสารขอรับรอง “วิถีการเลี้ยงควายและเกษตรเชิงนิเวศในพื้นที่ทะเลน้อย” จ.พัทลุง ที่สืบทอดกันมากว่า 250 ปี เป็น “มรดกทางการเกษตรโลก” (Globally Important Agricultural Heritage System หรือ GIAHS) จากองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ หรือ FAO
พื้นที่ดังกล่าวมีความสำคัญเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงมากจนได้รับการประกาศให้เป็นเขตพื้นที่ชุ่มน้ำโลก หรือ “Ramsar site” และมีความสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ของ FAO ในการเป็นมรดกทางการเกษตร ที่เน้นการอนุรักษ์มรดกทางการเกษตรโลก เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารและพัฒนาเศรษฐกิจ ปกป้องและส่งเสริมการใช้ทางชีวภาพให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมท้องถิ่นและยั่งยืนบริเวณพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย มีวิถีชีวิตที่มีความเชื่อมโยงกับควายน้ำทะเลน้อย
นางสาวรัชดา กล่าวต่อว่า เกษตรกรในพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อยมีรายได้หลักจากการขายควาย ประกอบกับการทำประมง ปลูกข้าว และแปรรูปผลิตภัณฑ์จากกระจูด ด้านระบบนิเวศ เมื่อถึงฤดูน้ำหลาก น้ำในทะเลน้อยมีปริมาณสูง ควายน้ำจะดำน้ำลงไปกินหญ้าใต้น้ำและพืชน้ำอย่างสายบัว ใบบัว หรือสาหร่าย กระจูด ซึ่งมีความสำคัญต่อระบบนิเวศในการกำจัดวัชพืช และมูลของควายยังเป็นอาหารให้กับพืชและแพลงตอน ซึ่งเป็นอาหารปลา และในส่วนของด้านวัฒนธรรม ควายเป็นศูนย์รวมของความเชื่อ มีพิธีกรรมและประเพณีที่เกี่ยวข้องกับควาย และทางเดินของควาย นอกจากจะสร้างภูมิทัศน์ที่สวยงามยังช่วยป้องกันการเกิดไฟป่าอีกด้วย
นางสาวรัชดา กล่าวว่า “หากพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อยได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางการเกษตรโลก จะทำให้เกษตรกรและชุมชนได้รับประโยชน์ในด้านการท่องเที่ยว โอกาสทางการเกษตร การจ้างงานเพิ่มขึ้น รายได้เพิ่มขึ้น และการรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งจะต้องผ่านหลักเกณฑ์ 5 ข้อ ได้แก่
1) ความมั่นคงด้านอาหาร/ชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี
2) ความหลากหลายทางชีวภาพการเกษตร
3) ระบบความรู้/ภูมิปัญญาท้องถิ่นมีมาแต่ดั้งเดิม
4) วัฒนธรรม ระบบคุณค่า และองค์กรทางสังคม
5) ลักษณะภูมิทัศน์/และภูมิทัศน์ทางทะเล”
ธ.ก.ส. ประมาณการณ์ ราคาสินค้าเกษตร พฤษภาคม 2565
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ทำการเผยผลการคาดการณ์ ราคาสินค้าเกษตร ประจำเดือน พฤษภาคม ปี 2565 – ส่วนใหญ่ปรับเพิ่มขึ้น
(9 พ.ค. 2565) ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรม ธ.ก.ส. คาดความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน ทำให้ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกปรับตัวสูงต่อเนื่อง และมาตรการผ่อนคลายการเดินทางเข้าประเทศของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ส่งผลทำให้ราคาสินค้าเกษตรส่วนใหญ่ ได้แก่ ข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลิ ข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ น้ำตาลทรายดิบ ยางพาราดิบชั้น 3 มันสำปะหลัง กุ้งขาวแวนนาไม สุกร และโคเนื้อ มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่วนปาล์มน้ำมันราคาปรับตัวลดลง
นายสมเกียรติ กิมาวหา รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรม ธ.ก.ส. คาดการณ์ราคาสินค้าเกษตรในเดือนพฤษภาคม 2565
โดยสินค้าเกษตรที่มีแนวโน้มราคาปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% ราคาอยู่ที่ 8,546 -8,719 บาท/ตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 1.08 – 3.14 ข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลิ ราคาอยู่ที่ 11,904 -12,130 บาท/ตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 1.61 – 3.55 เนื่องจากภาวะความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน ทำให้ประเทศผู้นำเข้ามีความต้องการข้าวเพื่อเพิ่มความมั่นคงทางอาหารและใช้เป็นสินค้าทดแทน ข้าวสาลีและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ประกอบกับค่าเงินบาทอ่อนตัว ส่งผลให้ข้าวไทยสามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้
ข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ราคาอยู่ที่ 8,793 – 8,830 บาท/ตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.20 – 0.62 เนื่องจากข้าวเหนียวนาปรังออกสู่ตลาดลดลง
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ราคาอยู่ที่ 9.62 – 9.69 บาท/กก. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.28 – 1.06 เนื่องจากความต้องการใช้เพื่อผลิตอาหารสัตว์ยังคงเพิ่มขึ้นจากราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์อื่นมีราคาสูง
Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป