นายกฯ เชื่อมั่น Thailand Pavilion ในงานมหกรรมพืชสวนโลก EXPO 2022 จะโชว์ศักยภาพ สร้างความเชื่อมั่น ต่อยอดเป็นความร่วมมือทางธุรกิจสร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจให้ประเทศได้มหาศาลโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายธนกร วังบุญคงชนะ เปิดเผยวันนี้ว่า (19 เม.ย.65) พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รับทราบถึงการดำเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทย ที่ได้เปิดพื้นที่การจัดแสดงพืชผลทางการเกษตรไทย ภายในงานมหกรรมพืชสวนโลก The International Horticultural Exposition 2022 ซึ่งจัดแสดงระหว่างวันที่ 14 เมษายน ถึง 9 ตุลาคม 2565 ณ เมือง Almere (อัลเมอเร่) ประเทศเนเธอร์แลนด์
นายกรัฐมนตรีเชื่อมั่นในศักยภาพ ความตั้งใจทำงานร่วมกันของทุกหน่วยงาน
และประสบการณ์ที่หน่วยงานไทยมีในการจัดงานแสดงลักษณะนี้ ตลอดจนเอกลักษณ์ ความพิเศษในความเป็นไทย ว่าจะสามารถดึงดูดความสนใจผู้เข้าร่วมงาน และสามารถต่อยอดเป็นความร่วมมือทางธุรกิจที่แปรเป็นเม็ดเงินให้กับเศรษฐกิจของประเทศ
นายธนกรฯ กล่าวว่า ครั้งนี้เป็นโอกาสอันดีในการร่วมฉลองความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างราชอาณาจักรไทยและราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ครบรอบ 418 ปี ในปี 2565 นี้ และเป็นครั้งที่ 4 ที่ไทยได้ร่วมจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกกับประเทศเนเธอร์แลนด์ ไทยจัดงานภายใต้แนวคิดหลัก “TRUST Thailand” โดยได้นำเสนอนโยบาย BCG model และนโยบาย 3S (3S : Safety, Security and Sustainability) ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดหลักในการจัดงานของเนเธอร์แลนด์ “Growing Green Cities” เกี่ยวกับเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมสำหรับเมืองแห่งอนาคต
ในส่วนของ “Thailand Pavilion” ประเทศไทยนำเสนอความก้าวหน้าของนวัตกรรมด้านอาหาร และสินค้าเกษตรของไทย การพัฒนากระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐานและคุณภาพของไทย เพื่อแสดงถึงความพร้อมของไทยทั้งภาคบริการ ภาคการเกษตร และด้านการท่องเที่ยว พร้อมกับการเผยแพร่แนวทางการบริหารจัดการอย่างยั่งยืน วิถีชีวิต วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี สู่การรับรู้ของผู้เข้าชมงานกว่า 2 ล้านคน จากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ทั้งนี้ ไทยได้นำกล้วยไม้พันธุ์แวนด้า ที่กำลังเป็นที่นิยมในต่างประเทศมาจัดทำเป็นซุ้มสัญลักษณ์ที่ยิ่งใหญ่มีความสูงกว่า 5 เมตร รวมถึงพืชประดับอื่น ๆ ที่สร้างเม็ดเงินปีละไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท ซึ่งกิจกรรมต่าง ๆ จะหมุนเวียนจัดแสดงตลอดระยะเวลาการจัดงาน โดยเฉพาะในวันที่ 28 กรกฎาคม จะมีการจัดแสดงนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่งดงาม เช่น นาฏศิลป์ การแกะสลัก รวมถึงการนวดแผนไทย ซึ่งจะจัดต่อเนื่องตลอด 1 สัปดาห์
ทั้งนี้ เชิญชวนผู้ที่สนใจมาเที่ยวชม Thailand Pavilion ได้ทุกวัน ตั้งแต่วันนี้ ถึง 9 ตุลาคม 2565 เวลา 10.00 น. – 19.00 น. และสามารถติดตามรับชมได้ทางออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์ thailandfloriade2022.com เพื่อเป็นกำลังใจการทำงานของคนไทย
ศาลออก หมายจับ ‘ยิ่งลักษณ์’ กรณีหนีศาลคดีโร้ดโชว์
ศาลฎีกา ออกหมายจับ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กรณีหนี ศาลคดีโร้ดโชว์ ตามข้อหาปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สนามหลวง ได้นัดพิจารณาคดีครั้งเเรก ในคดี อม.2/2565 ที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เป็นโจทก์ยื่นฟ้องน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จำเลยที่ 1
พร้อมด้วจำเลยอีก 5 คนได้ แก่ นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล อดีตรองนายกรัฐมนตรี จำเลยที่ 2 นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ อดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี จำเลยที่ 3 บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) จำเลยที่ 4 บริษัท สยามสปอร์ต ซินดิเคท จำกัด (มหาชน) จำเลยที่ 5 นายระวิ โหลทอง กรรมการบริษัท สยามสปอร์ต จำเลยที่ 6
ข้อหาปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต โดยมุ่งหมายไม่ให้มีการแข่งขันราคาจัดจ้าง โครงการ “Roadshow สร้างอนาคตประเทศไทย Thailand 2020” อย่างเป็นธรรม เพื่อเอื้อประโยชน์แก่บริษัท มติชน และบริษัท สยามสปอร์ต จัดทำโครงการดังกล่าว
ซึ่งศาลศาลฎีกาฯได้อ่านอธิบายคำฟ้องให้จำเลยฟังแล้ว แต่จำเลยทั้งหมดให้การปฏิเสธข้อกล่าวหา และทำหนังสือขอขยายระยะเวลาคำให้การ โดยศาลได้อนุญาตและได้นัดตรวจพยานหลักฐานในวันที่ 12 ก.ย. 2565 เวลา 09.30 น.
นอกจากนี้ศาลยังได้ออกหมายจับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ที่ไม่เดินทางมาศาลโดยไม่แจ้งเหตุ โดยเห็นว่า มีพฤติการณ์หลบหนี และให้ ป.ป.ช.ดำเนินการติดตามตัวให้มารับฟังคดี
“รัฐบาลเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ฝนที่จะตกมากขึ้น โดยได้มีการวางแผนการบริหารจัดการน้ำของประเทศไทยอย่างเป็นระบบ และมีการปรับแผนการปฏิบัติให้สอดคล้องกับสถานการณ์ โดยมอบหมายให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ดำเนินการวางแผนการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดคือการจัดทำ 13 มาตรการรับมือฤดูฝนปี 2565 เช่น คาดการณ์ชี้เป้าพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมและฝนน้อยกว่าปกติ รวมจุดเฝ้าระวัง/เสี่ยงอุทกภัย 750 จุด ทั้งประเทศ ปรับปรุงเกณฑ์บริหารจัดการน้ำ แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 25 แห่ง ขนาดกลาง 412 แห่ง และเขื่อนระบายน้ำ 32 แห่ง บึงธรรมชาติ 2 แห่ง เตรียมความพร้อมเครื่องจักร เครื่องมือ 5,382 หน่วยทั่วประเทศ และตรวจความมั่นคง ปลอดภัย คัน/ทำนบดิน/พนังกันน้ำแล้วเสร็จ 649 แห่ง ความยาวรวม 6,440 กิโลเมตร เพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่เสี่ยง” นายอนุชากล่าว
Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป